ReadyPlanet.com
dot dot
bulletแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564)
bulletแผนปฏิบัติการป้องกันทุจริต (พ.ศ.2566 - 2570)


Untitled Document

หนังสือพิมพ์
โทรทัศน์เมืองไทย

ลิงค์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงต่างๆ
จังหวัดทั่วไทย
เว็บช่วยค้นหา
เว็บเพื่อนบ้าน


เกร็ดความรู้ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน และภาษีป้าย

 

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและทีดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้น ๆ และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้น
โรงเรือน หมายถึง บ้านตึกแถว ร้านค้า สำนักงาน ธนาคาร โรงแรม ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดกับที่ดินเป็นการถาวร
สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ หมายถึง ท่าเรือ สะพาน แพ คานเรือ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดกับที่ดินเป็นการถาวร
ที่ดินซึ่งใช่ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ หมายถึง ที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและบริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
 
ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
ผู้รับประเมิน (เจ้าของทรัพย์สิน จะต้องยื่นแบบ(ภ.ร.ด. 2) ณ ส่วนการคลัง งานจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบล ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี เมื่อผู้รับประเมินได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษี (แบบ ภ.ร.ด. 8 ) จะต้องชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งค่าภาษี
การยื่นอุทธรณ์
เมื่อผู้รับการประเมินได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษีแล้วไม่พอใจในการประเมินค่าภาษี ให้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินค่าภาษีใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ร.ด. 8 )
อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ผู้รับการประเมินจะต้องเสียภาษีค่าภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี (ค่าเช่า)
 
การไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนดเวลา
กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีภายในกำหนดต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
กรณีผู้รับการประเมินไม่ชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินค่าภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก ดังนี้
  • ค้างชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2.5 ของค่าภาษี

  • ค้างชำระเกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 5 ของค่าภาษี

  • ค้างชำระเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 7.5 ของค่าภาษี

  • ค้างชำระเกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 10 ของค่าภาษี

ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนแบะที่ดินพ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2543 มาตรา 44 กำหนดว่า “ ถ้ามิได้การชำระภาษี และเงินเพิ่มภายใน 4 เดือนให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระ ภาษีเพื่อนำเงินมาชำระเป็น ค่าภาษีเงินเพิ่ม ค่าธรรมเนียม ”
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย เป็นภาษีจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำขึ้นให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
ผู้เป็นเจ้าขอป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่
 
การชำระเงินค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องขำระค่าภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับแจ้งการประเมินหรือชำระค่าภาษีในวันที่ยื่นแบบเลยก็ได้
 
อัตราค่าภาษีป้าย
ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนคิดอัตราร้อยละ 3 บาท /500 ซม.
ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพและครื่องหมายอื่น คิดในอัตรา 20 บาท /500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ หรือ
(ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศติดในอัตรา 40 บาท /500 ตารางเซนติเมตร เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้าย 200 บาท
การไม่ยื่นแบบและชำระค่าภาษีป้ายในกำหนดเวลา
ผู้เป็นเจ้าจองรายได้ไม่ยื่นแบบภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก “ ที่ดิน ” ซึ่งหมายถึง พื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วย
ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่
เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.บ.ท. 5 ) ณ ส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบล ทุกรอบระยะเวลา 4 ปี
กรณีบุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือ จำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนไป ให้เจ้าของที่ดินแบบแสดงรายการที่ดิน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือ จำนวนเนื้อที่ดินที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
 
การชำระเงินภาษีบำรุงท้องที่
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี จะต้องชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี
การไม่ยื่นแบบและชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในกำหนดเวลา
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษี ไม่ชำระค่าภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ของจำนวนเงินค่าภาษีต่อเดือน


 




เกร็ดความรู้เกี่ยวกับภาษี และอื่นๆ

ความหมายของ"การจัดการเรียนรู้" ( km )
แผนผังขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย และภาษีโรงเรือนและที่ดิน article
คำแนะนำการชำระภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางยี่โท article
แผนเผชิญเหตุป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2567
การปฏิบัติเพื่อให้เกิดสวัสดิภาพจากวาตภัย article
หนังสือเสริมประสบการณ์ความรู้เรื่องเพศศึกษา ตอน วัยใสไกลเอดส์ article
การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม article
วิธีป้องกันและปฎิบัติตัวเมื่อเกิดอัคคีภัย article
วิธีปฏิบัติตนช่วงน้ำท่วมอย่างปลอดภัย article
ภาษีที่องค์การบริหารส่วนตำบลบบางยี่โทจัดเก็บเอง
ความรู้เรื่องยาเสพติดและโทษของยาเสตติด article
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (เฉพาะที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง)
การจัดการน้ำเสียในชุมชน article
⛈กอนช. เฝ้าระวังฝนตกหนักต่อเนื่อง ระดับน้ำเพิ่มขึ้น เสี่ยงเกิดอุทกภัยหลายพื้นที่ถึง 25 พ.ค.นี้
แผนเผชิญเหตุอุทกภัย องค์การบริหารส่วนตำบลบางยี่โท ปี 2565



Copyright © 2011 All Rights Reserved./Design By Nvprint_OHM

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางยี่โท    หมู่ที่ 3 ตำบลบางยี่โท อำเภอบางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โทร.035-785-032